ศิลาจารึก หลักที่ ๑
Ø
ประวัติการค้นพบ
ขณะสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังไม่ได้เสวยราชย์ และทรงผนวชประทับอยู่
ณ วัดราชาธิราชนั้นได้เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือในพ.ศ.๒๓๗๖
เมื่อเสด็จไปถึงเมืองสุโขทัย ได้ทรงพบศิลาจารึก๒หลัก และแท่นหิน ๑ แท่น ตั้งอยู่ที่เนินปราสาทในพระราชวังเก่าสุโขทัย ต่อมาภายหลังปรากฎว่าเป็นศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงหลักหนึ่งศิลาจารึกภาษาขอมของพระมหาธรรมราชาลิไทยหลักหนึ่งและแท่นหินนั้นคือ
พระที่นั่งมนังคศิลาบาตรพระองค์ได้โปรดให้นำโบราณวัตถุทั้งสามชิ้นกลับมายังพระนคร
และได้ทรงพยายามอ่านศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง จนทราบว่าจารึกนี้สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อ
พ.ศ.๑๘๓๕
ภายหลังเมื่อได้เสวยสิริราชสมบัติแล้วจึงโปรดเกล้าฯ
ให้ย้ายจากวัดบวรนิเวศไปตั้งไว้ที่ศาลารายภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ข้างด้านเหนือพระอุโบสถหลังที่สองนับจากตะวันตก จนถึงปีพ,ศ.2466จึงได้ย้ายมาไว้ที่หอสมุดวชิรญาณในปีพ.ศ.2468จึงโปรดเกล้าให้ย้ายจารึกมาเก็บไว้ณพระที่นั่งศิวโมกขพิมานพ.ศ.2511จึงได้ย้ายเฉพาะศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชไปตั้งที่อาคารสร้างใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครด้านเหนือชั้นบน
ซึ่งเป็นห้องแสดงศิลปะสมัยสุโขทัยเพื่อประโยชน์ในการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี และได้จัดทำศิลาจารึกหลักจำลองขึ้นเก็บรักษาไว้ที่หอวชิราวุธแทน
Ø ลักษณะของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ลักษณะของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นหินชนวนสี่เหลี่ยมมียอดแหลมปลายมน
สูง ๑ เมตร ๑๑ เซนติเมตร มีข้อความจารึกทั้ง ๔ ด้าน สูง ๕๙ เซนติเมตรกว้าง ๓๕
เซนติเมตร ด้านที่ ๑และ๒ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓และด้านที่ ๔ มี ๒๗ บรรทัด
การบันทึกของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแบ่งออกเป็น
3 ตอน
ตอนที่ ๑ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ – ๑๘เป็นเรื่องของพ่อขุนรามคำแหงทรงเล่าประวัติพระองค์เอง ตั้งแต่ประสูติจน
เสวยราชย์ใช้สรรพนามแทนชื่อของพระองค์ว่ากู
ตอนที่ ๒ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑๙
เล่าเหตุการณ์ต่างๆและขนบประเพณีของกรุงสุโขทัยเล่าเรื่องการสร้างพระ
แท่นมนังศิลาบาตร
สร้างวัดมหาธาตุเมืองศรีสัชนาลัยและการประดิษฐ์อักษรไทยใช้พระนามว่าพ่อขุนรามคำแหง
ตอนที่ ๓
คงจารึกต่อจากตอนที่๒หลายปีเพราะรูปร่างอักษรต่างไปมากกล่าวสรรเสริญและยอพระเกียรติของพ่อขุนรามคำแหงบรรยากาศถูมิสถานบ้านเมือง
และขอบเขตของอาณาจักรสุโขทัย
Ø ด้านประวัติศาสตร์
ศิลาจารึกหลักนี้ช่วยให้เราได้ทราบถึงประวัติความรุ่งเรืองชองชาติไทยในยุคสุโขทัย
และประวัติเรื่องราวอื่นๆ เช่น ประวัติราชวงศ์สุโขทัย
ประวัติการรวบรวมอาณาจักรไทยให้เป็นปึกแผ่น ประวัติการค้าโดยเสรี
ประวัติการสืบสร้างพระพุทธศาสนา และ การประดิษฐ์ลายสือไทย
ศิลาจารึกหลักนี้ได้ระบุอาณาเขตของสุโขทัยไว้อย่างชัดแจ้ง กล่าวถึงว่าทิศตะวันออก
จดเวียงจันทน์ เวียงคำ ทิศใต้จดศรีธรรมราช และฝั่งทะเล ทิศตะวันตกถึงหงสาวดี
ทิศเหนือถึงเมืองแพร่ น่าน พลั่ว มีการกล่าวถึงชื่อเมืองสำคัญต่างๆ หลายเมือง เช่น
เชลียง เพชรบุรี
นอกจากนี้ยังได้พรรณนาแหล่งทำมาหากินและและแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวเมืองสุโขทัยไว้
Ø
ด้านภาษาศาสตร์
ลายสือไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีความสมบูรณ์ทั้งสระและพยัญชนะ
สามารถเขียนคำภาษาไทยได้ทุกคำและสามารถเลียนเสียงภาษาต่างประเทศได้ดีกว่าอักษรแบบอื่นๆเป็นอันมากมีการใช้อักขรวิธีแบบนำสระและพยัญชนะมาเรียงไว้ในบรรทัดเดียวกัน ซึ่งทำให้ประหยัดทั้งเนื้อที่และเวลาในการเขียน ภาษาเป็นสำนวนง่ายๆ และมีภาษาต่างประเทศบ้าง
ประโยคที่เขียนก็ออกเสียงอ่านได้เป็นจังหวะคล้องจองกันคล้ายกับการอ่านร้อยกรองด้านวรรณคดี
ศิลาจารึกหลักนี้จัดว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย
เพราะมีข้อความไพเราะลึกซึ้งและกินใจ ก่อให้เกิดจินตนาการได้งดงาม
Ø ด้านศาสนา
ข้อความในศิลาจารึกนี้ มีหลายตอนที่แสดงให้เห็นว่า
พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติไทย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น ได้รับการอุปถัมภ์เชิดชูอย่างดียิ่งประชาชนชาวไทยได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองสูงส่ง
มีการสร้างปูชนียสถานและปูชนียวัตถุไว้เป็นจำนวนมาก พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยสร้างขึ้นด้วยความศรัทธาในพระศาสนา
จึงมีศิลปะงดงามยิ่ง
แม้ในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่สามารถจะสร้างให้งามทัดเทียมได้ด้านจารีตประเพณี
ศิลาจารึกหลักนี้ ช่วยให้ทราบว่า
สมัยสุโขทัยนั้นมีหลักจารีตประเพณีหลายประการที่ประชาชนนับถือและปฏิบัติกันอยู่
มีทั้งประเพณีทางพระพุทธศาสนาและประเพณีอื่น ๆ เช่น ประเพณีรักษาศีลเมื่อเข้าพรรษา
ประเพณีฟังธรรมในวันพระ ประเพณีการทอดกฐิน ประเพณีการเผาเทียนเล่นไฟ เป็นต้น
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้
เป็นเอกสารที่สำคัญ ยิ่งชิ้นหนึ่งของชาติไทย
เป็นมรดกอันล้ำค่าและทรงคุณค่าอย่าง
ยิ่ง มีสาระประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองนานัปการ ควรพิทักษ์รักษาไว้ให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดกาล
และเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(องค์การยูเนสโก) ได้ประชุมเมื่อวันที่ 28-30 สิงหาคม 2546 ที่เมือง Gdansk ประเทศโปแลนด์ โดยได้พิจารณาใบสมัครจำนวน 43 รายการ
จาก 27 ประเทศทั่วโลก ผลการประชุมมี มติสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ให้องค์การยูเนสโกจดทะเบียนระดับโลก ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง พร้อมกับอีก 22 รายการ จาก 20
ประเทศ ทั้งนี้ โครงการมรดกความทรงจำของโลกเป็นโครงการ เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่มรดกความทรงจำที่เป็นเอกสาร
วัสดุหรือข้อมูลข่าวสารอื่นๆ เช่น กระดาษ สื่อทัศนูปกรณ์
และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย แต่จะต้องมีความสำคัญในระดับนานาชาติ
และจะต้องมีการเก็บรักษาในความทรงจำในระดับชาติและระดับภูมิภาคอยู่แล้ว
ซึ่งเมื่อองค์การยูเนสโกได้ประกาศจดทะเบียนแล้ว ประเทศเจ้าของมรดกมีพันธกรณีทางปัญญาและทางศีลธรรมที่จะต้องอนุรักษ์
ให้อยู่ในสภาพที่ดี และเผยแพร่ให้ความรู้แก่มหาชนอนุชนรุ่นหลังทั่วโลกให้ กว้างขวาง
เพื่อให้มรดกดังกล่าวอยู่ในความทรงจำของโลกตลอดไป
นับเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยรามคำแหงอย่างยิ่ง ที่นอกเหนือจากเป็นสถาบันการศึกษาภายใต้พระนามพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์ผู้มีคุณูปการยิ่งใหญ่แก่ชาติไทยแล้ว
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อันเป็น ตราประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง ยังได้รับการยกย่องไปทั่วโลกว่าเป็นมรดกความทรงจำของโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น